การปฏิบัติงานใด ๆ นั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก คือ ในเรื่องความปลอดภัย ในการเชื่อมก็เช่นกันเพราะขณะปฏิบัติงานนั้นผู้เชื่อมจะต้องปฏิบัติงานควบคู่กับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเชื่อม หากผู้เชื่อมไม่รู้ถึงหน้าที่ วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การเชื่อม ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้
1. ความหมายของการเชื่อมแก๊ส
การเชื่อมแก๊ส หมายถึง การทำให้โลหะหลอมเหลวติดกัน โดยอาศัยความร้อนที่เกิดจากการสันดาปของแก๊สเชื้อเพลิงและแก๊สออกซิเจน จนเกิดความร้อนทำให้เกิดการหลอมเหลวติดกันของโลหะงาน โดยจะเติมลวดเชื่อมหรือให้โลหะหลอมเหลวติดกันเองก็ได้
2. ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส
ความปลอดภัยในงานเชื่อมโลหะด้วยแก๊สสามารถแยกตามลักษณะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ดังนี้
1. ด้านผู้ปฏิบัติงานเชื่อม
1.1 ต้องสวมแว่นตากรองแสงชนิดสำหรับเชื่อมโลหะด้วยแก๊สที่มีคุณสมบัติตาม
มาตรฐานและสามารถป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าตาได้ด้วย
1.2 สวมชุดที่ป้องกันอันตรายจากสะเก็ดไฟจากการเชื่อมและไม่ลุกติดไฟง่าย
รูปที่ 1.10 สวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
ที่มา : http://www.globalsecurity.org/military/library/policy/navy/nrtc/14250.htm_3
รูปที่ 1.11 ชุดปฏิบัติงานเชื่อม
ที่มา : http://www.globalsecurity.org/military/library/policy/navy/nrtc/14250.htm_3
1.3 ต้องสวมรองเท้าชนิดหุ้มข้อหรือรองเท้านิรภัยในขณะปฏิบัติงาน
1.4 ต้องสวมถุงมือหนัง หรือผ้าชนิดไม่เปิดปลายนิ้วมือ
รูปที่ 1.12 ถุงมือสำหรับการเชื่อม
2. ด้านเครื่องเชื่อม
2.1 ถังแก๊สและอุปกรณ์ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม
และมีสัญลักษณ์สีบอกชนิดของแก๊สที่บรรจุอยู่ภายในตามมาตรฐานที่กำหนด
รูปที่ 1.13 การเก็บถังแก๊ส
ที่มา : http://www.ccohs.ca/oshanswers/safety_haz/welding/storage.html?print
2.2 ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนใช้งาน
รูปที่ : 1.14 แสดงลักษณะความพร้อมของอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
ที่มา : www.jorpor.com/PPT/Pressure%20Gas.ppt
2.2 ถังแก๊สต้องตั้งหัวขึ้นและมีสายผูกยึดกับสิ่งที่มั่นคงเพื่อกันถังล้ม
2.3 ถังบรรจุแก๊สต้องมีมาตรวัดเพื่อควบคุมความดันของแก๊สที่ถังขณะใช้งาน มาตร
วัดความดันที่ใช้งานควรอยู่ในสภาพดี
2.4 วาล์วและอุปกรณ์ที่ใช้กับแก๊สต้องไม่มีน้ำมัน หรือ จารบี และไม่ใช้ท่อทองแดง
เป็นท่อนำแก๊สอะเซทิลีนหรือส่วนประกอบ
2.5 หัวเชื่อมและท่อนำแก๊สต้องอยู่ในสภาพดีและปลอดภัย

รูปที่ 1.15 วาวล์ถังแก๊สจะต้องไม่มีคาบน้ำมันหรือวัสดุที่ติดไฟ
ที่มา : http://www.autospeed.com/cms/A_108763/article.html?popularArticle
3. ด้านวัสดุ / อุปกรณ์
3.1 การใช้งานควรห่างจากสารไวไฟไม่น้อยกว่า 25 ฟุต หรือ 7.6 เมตร
3.2 การเก็บถังแก็สเชื้อเพลิงและถังออกซิเจนควรแยกออกจากกันในการจัดเก็บ
3.3 บริเวณที่ใช้ทำการเก็บแก๊สอะเซทิลีน ต้องมีการระบายอากาศที่ดี และมีคำเตือน
ระวังวัตถุไวไฟ หรือ ห้ามเกิดประกายไฟ
3.4 การเคลื่อนย้ายถังแก๊สต้องสวมฝาครอบป้องกันวาล์วเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้
วาล์วกระแทกแตกขณะทำการขนส่ง
รูปที่ 1.16 แสดงส่วนประกอบของวาล์วและฝาครอบวาล์วถังแก๊สออกซิเจน
ที่มา : http://www.millerwelds.com/resources/TIGhandbook/pdf/TIGBook_Chpt5.pdf
3.5 กรณีที่วาล์วแก๊สรั่ว ต้องรีบนำถังแก๊สออกจากอาคารหรือพื้นที่ ที่ทำงานไปไว้ในที่
โล่งแจ้งที่ระบายอากาศได้ดี ในขณะเดียวกันควรนำป้ายบอกเตือนเพื่อระวังผู้ที่อาจทำให้เกิดประกายไฟบริเวณที่แก๊สรั่ว
4. ด้านบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน
4.1 พื้นที่อาคารโรงงานต้อนเป็นวัสดุทนไฟ และมีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงในที่
สะดวกในการหยิบใช้
4.2 ต้องมีฉากหรือห้องกั้นสำหรับป้องกันแสง รังสี และ สะเก็ดลูกติดไฟ
4.3 ต้องไม่มีวัตถุไวไฟในบริเวณพื้นที่ทำการเชื่อมและในบริเวณใกล้เคียง
รูปที่ 1.17 รถเข็นถังแก๊ส
ที่มา : http://www.thediypal.com/index.php?title=Acetylene
4.4 ในพื้นที่บริเวณปฏิบัติงานจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี
รูปที่ 1.18 แสดงผลลัพธ์ของการเชื่อมบริเวณที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ
ที่มา : www.jorpor.com/PPT/Pressure%20Gas.ppt
4.5 ต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน
4.6 มีอุปกรณ์และยาปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากเกิดอุบัติเหตุ
4.7 ทำการตีเส้นแสดงขอบเขตพื้นที่ เครื่องจักร พื้นที่ที่อันตรายให้ชัดเจน
5. ด้านการปฏิบัติงานเชื่อมแก๊ส
5.1 ก่อนทำการเชื่อมต้องสังเกตพื้นที่ก่อนว่าไม่มีวัตถุที่ไวไฟอยู่บริเวณทำการเชื่อม
5.2 ถ้าเป็นการเชื่อมในห้องสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ การระบายอากาศของห้องมี
พอเพียง โดยทั่วไปพื้นที่ต่อการระบายอากาศที่ปลอดภัยจะมีพื้นที่ 10,000 ลูกบาศก์ฟุต หรือ 283 ลูกบาศก์เมตร ต่อช่างเชื่อม 1 คน
5.3 ต้องมีการระบายอากาศที่ดีเมื่อทำการเชื่อมโลหะที่มีสารพิษเคลือบผิวอยู่ เช่น
สังกะสี ตะกั่ว ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้
5.4 ตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่าง ๆ ก่อนการเชื่อมทุดครั้ง หากเกิดการชำรุดให้บอกครูผู้ควบคุมทันที
รูปที่ 1.19 รูปแสดงการตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อปลอดภัยในงานเชื่อมแก๊ส
ที่มา : http://www2.worksafebc.com/i/posters/1999/ha9914.html
5.5 กรณีวางถังแก๊สอะเซทิลีนในลักษณะนอนนาน ๆ เวลาใช้งานควรนำตั้งขึ้นและให้
ระยะเวลาเพื่อให้สารอาซิโตนเข้าที่ระยะเวลาหนึ่ง เพราะหากไม่แล้วสารอาซิโตนจะเคลื่อนตัวปะปนออกมากับแก๊สทำให้อุณหภูมิของเปลวไฟต่ำกว่าปกติและทำให้เกิดความเสียหายต่อมาตรวัด ความดัน (Regulator) หรือบริเวณลิ้นเปิดปิด (Valve) ของกระบอกเชื่อม (Torch)
5.6 การป้องกันการไหลย้อนกลับของแก๊ส กว่าร้อยละ 90 ของอุบัติเหตุใน
อุตสาหกรรมงานเชื่อมนั้น เกิดขึ้นบริเวณด้ามเชื่อม สายแก๊ส และ มาตรวัดความดันแก๊ส โดยมีสาเหตุดังนี้
รูปที่ 1.20 แสดการเกิดไฟไหลย้อน
ที่มา : www.jorpor.com/PPT/Pressure%20Gas.ppt
รูปที่ 1.21 ทิศทางการไหลของแก๊ส
1) เมื่อปริมาณแก๊สออกซิเจนในถังหมดลง ก่อนที่วาล์วเปิด - ปิด แก๊สออกซิเจน
ที่ด้ามเชื่อมจะถูกปิด แก๊สอะเซทิลีนจะไหลย้อนกลับไปที่สาย และมาตรวัดความดันแก๊สออกซิเจน
รูปที่ 1.22 ทิศทางการไหลของแก๊สอะเซทิลีนเข้าถังแก๊สออกซิเจน
ที่มา : คู่มือความปลอดภัย บริษัท Harris หน้า 5
2) เมื่อวาล์วหัวถังแก๊สทั้งสองถูกปิดลงหลังเสร็จจากงานแล้ว ถ้าผู้ใช้ได้เปิด
วาล์วทั้งสองที่ด้ามเชื่อมเพื่อปล่อยแก๊สออกซิเจน และอะเซทิลีนออก แก๊สอะเซทิลีนที่มีแรงดันต่ำจะไหลออกก่อน โดยที่แก๊สออกซิเจนจะสามารถไหลย้อนกลับไปยังสาย และมาตรวัดความดันของแก๊สอะเซทิลีนได้
รูปที่ 1.23 ทิศทางการไหลของแก๊สออกซิเจนเข้าถังแก๊สอะเซทิลีน
ที่มา : คู่มือความปลอดภัย บริษัท Harris หน้า 6
3) เมื่อผู้ใช้เปิดวาล์วทั้งสองที่ด้ามเชื่อมพร้อมกัน และพยายามที่จะจุดไฟเพื่อใช้งาน (ด้วยมิกเซอร์แบบสมดุลความดัน) ถ้าแก๊สออกซิเจนมีอัตราการไหลมากกว่าอัตราที่หัวทิพจะปล่อยได้ ออกซิเจนจะไหลย้อนกลับไปที่สายและมาตรวัดความดันของแก๊สอะเซทิลีน
รูปที่ 1.24 ทิศทางการไหลย้อนกลับของแก๊ส
ที่มา : คู่มือความปลอดภัย บริษัท Harris หน้า 6
จากการไหลย้อนกลับของแก๊ส จะเป็นการสร้างองค์ประกอบที่ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ได้สองในสามส่วน ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถป้องกันได้ ถ้าหากอุปกรณ์ได้ถูกใช้อย่างเหมาะสม
1) ไม่ควรใช้แก๊สออกซิเจนจนหมดถัง ควรเลิกใช้เมื่อแรงดันในถังลดลงมาเหลือ
ประมาณ 50 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ( 3.5 บาร์ )
2) ผู้ใช้ควรจะปล่อยแก๊สในสายเชื่อมออกก่อนที่จะจุดไฟที่ด้ามเชื่อม ควรปล่อย
แก๊สผสมที่สามารถลุกติดไฟได้ทิ้งก่อนที่อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น
3) ผู้ใช้ไม่ควรที่จะจุดไฟเพื่อใช้งานโดยเปิดวาล์วทั้งสองที่ด้ามเชื่อมพร้อมกัน
ยกเว้นด้ามเชื่อม ที่มีมิกเซอร์แบบหัวฉีด หรือยูนิเวอเซล (UNIVERSAL MIXER) ซึ่งมิกเซอร์แบบ ยูนิเวอเซลนี้ ได้ถูกออกแบบเพื่อที่จะป้องกันการไหลย้อนกลับ ยกเว้นเมื่อหัวเชื่อมเกิดอุดตัน
4) อุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งาน ถ้าหัวเชื่อมอุดตัน แก๊สที่มีแรงดันสูง
กว่าจะไหลกลับไปยังสายที่มีแรงดันต่ำกว่า
ขอบคุณความรู้ดีๆครับ
ตอบลบ