บทนำ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย
คำว่า “อาชีวอนามัย” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Occupational Health” โดยมีรากฐานมาจากคำสองคำผสมผสานกัน คือ อาชีวะ (Occupational) หรืออาชีพ หมายถึงบุคคลที่ประกอยอาชีพการงาน อนามัย (Health) หรือสุขภาพอนามัย ตามความหมายที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำจำกัดความไว้หมายถึง สภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย (Physical Health) ทางจิตใจ (Mental Health) และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี (Social well – being) ซึ่งไม่เพียงแต่ปราศจากโรคหรือไม่แข็งแรงทุพพลภาพเท่านั้น
สำหรับคำว่า “ความปลอดภัย” (Safety) หมายถึง สภาพที่ปราศจากภัยคุกคาม (Hazard) ไม่มีอันตราย (Danger) และความเสี่ยงใดๆ (Risk) เมื่อนำคำทั้งหมดดังกล่าวมารวมกัน จึงกล่าวได้ว่า งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลสุขภาพ อนามัยของผู้ประกอบอาชีพการงานให้มีสภาวะสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดี รวมทั้งมีความปลอดภัยจากภัยคุกคาม อันตรายและความเสี่ยงต่างๆ
การปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก คือ ความปลอดภัยโดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากการทำงานหากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบ และเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องจักร โดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเองนอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การวางผังโรงงาน อากาศแสงสว่าง เสียง สิ่งเหล่านี้หากมีความบกพร่องและผิดมาตรฐานที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะที่ทำงานควรจัดให้มีสภาพการทำงานที่ดี เพียงเท่านี้ ก็ยังมิอาจช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุลดลงได้เลย ถ้าหากไม่ได้เน้นถึงตัวผู้ปฏิบัติงานด้วย เพราะจากสถิติของบริษัทหลายๆ แห่งจะแสดงให้เห็นว่าอันตรายที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้น ส่วนมากจะเกิดจากความประมาท และ การละเลยที่จะปฏิบัติตามกฎของความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเอง ทำให้งานผลิตหยุด ชะงักแล้วยังจะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มอีกด้วยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกัน มิให้เกิดขึ้น
ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นสิ่งทุกฝ่ายควรมีความตะหนัก ความไม่ประมาณนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน ควรฝึกตั้งแต่เริ่มแรกในการทำงานเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจนั่นหมายความว่าตลอดชีวิตของการทำงานจะไม่ประสบอันตราย
รูปที่ 1 เครื่องหมายและอุปกรณ์เตือนอันตราย
ความปลอดภัยในการทำงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงานซึ่งก็ คือ สภาพการทำงานให้ถูกต้องโดยปราศจาก อุบัติเหตุ ในการทำงาน
อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงานทำให้ทรัพย์สินเสียหาย หรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
อุบัติเหตุกับการทำงาน อุบัติเหตุและการทำงานมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันเสมอ กล่าวคือในขณะที่เราทำงานนั้นจะมีอุบัติเหตุแอบแฝงอยู่ และเมื่อใดที่เราประมาท อุบัติเหตุก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันทีซึ่งในการเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.1 ตัวบุคคล คือ ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่าง ๆ และเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้
เกิดอุบัติเหตุ
1.2 สิ่งแวดล้อม คือ ตัวองค์การหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่
1.3 เครื่องมือ เครื่องจักร คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
ความปลอดภัยตามหลักอาชีวอนามัย หมายถึง ความปลอดภัยในการทำงานโดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานให้ปลอดภัยจากอันตรายของมลพิษต่าง ๆ เช่น มลพิษสิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ อันได้แก่ การติดเชื้อโรค การเกิดระคายเคือง ภูมิแพ้ ผื่นคัน มลพิษสิ่งแวดล้อม ด้านกายภาพ ซึ่งได้แก่ อันตรายจากเสียงดัง แสง การระบายอากาศ มลพิษสิ่งแวดล้อม ด้านเคมี เช่น จากไอระเหยของแก๊ส ลวดเชื่อม ฝุ่น และมลพิษสิ่งแวดล้อม ด้านที่เกิดจากเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ ที่ชำรุดหรือไม่พร้อมใช้งาน และอิริยาบถในการทำงานที่อาจจะต้องทำเป็นเวลานาน จึงมีกฎหมายเพื่อบังคับหรือควบคุมผู้ปฏิบัติงานให้ทำงานด้วยความปลอดภัย เช่น เกี่ยวกับพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะอาคาร และลักษณะภายในของโรงงานที่บอกความมั่นคงแข็งแรง การระบายอากาศ การมีห้องส้วม ที่ทำความสะอาดร่างกาย เช่น คนงาน 15 คน จะต้องมีห้องส้วม 1 ห้อง เป็นต้น
ปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องหมายความปลอดภัยเกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่างๆ มาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจนง่ายต่อความเข้าใจและปฏิบัติ เครื่องหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องในงานเชื่อมและในงานโลหะแผ่นนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ เครื่องหมายที่เป็นสัญลักษณ์ประกอบด้วยเครื่องหมายห้าม เครื่องหมายบังคับ เครื่องหมายเตือน เครื่องหมายสารสนเทศเกี่ยวกับภาวะความปลอดภัย เครื่องหมายเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย เครื่องหมายสำหรับฉลากที่ต้องปิดหรือพิมพ์ไว้บนภาชนะบรรจุเคมีภัณฑ์ เป็นต้น และอีกประเภท คือ เครื่องหมายที่เป็นข้อความ เช่น Safety First ปลอดภัยไว้ก่อน เป็นต้น
สัญลักษณ์เครื่องหมายห้าม
รูปที่ 1.2 แสดงเครื่องหมายห้าม
รูปที่ 1.3 แสดงเครื่องหมายห้ามและการป้องกันอัคคีภัย
ตัวอย่างเครื่องหมายบังคับความปลอดภัย
รูปที่ 1.4 แสดงเครื่องหมายบังคับความปลอดภัย
ตัวอย่างเครื่องหมายแสดงการเตือนให้ระมัดระวัง
รูปที่ 1.5 แสดงเครื่องหมายแสดงเตือนให้ระวัง
ตัวอย่างเครื่องหมายแสดงสภาวะความปลอดภัย
รูปที่ 1.6 แสดงเครื่องหมายสภาวะความปลอดภัย
ตัวอย่างเครื่องหมายป้ายขนส่งสารเคมีในอุตสาหกรรม
รูปที่ 1.7 แสดงเครื่องหมายป้ายขนส่งสารเคมีในอุตสาหกรรม
ระเบียบการใช้โรงฝึกงาน
1. ก่อนเข้าปฏิบัติงานในโรงงานจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อยและถูกต้องตามระเบียบ
2. อย่าหยอกล้อหรือวิ่งเล่น และส่งเสียงดังภายในโรงงานอย่างเด็ดขาด
3. ห้ามนำเครื่องมือออกนอกโรงงานฝึกงานก่อนได้รับอนุญาต
4. ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องจักรเสียก่อน
5. ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้าในโรงงานก่อนได้รับอนุญาต
6. กลุ่มที่ปฏิบัติงานต้องมี TOOL ROOM รับผิดชอบ
7. ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายขณะปฏิบัติงานทุกครั้ง
8. ก่อนเบิกเครื่องมือต้องได้รับอนุญาต
9. ในการทำงานนอกเวลาต้องขออนุญาตใช้เครื่องมือ เครื่องจักรจากครูผู้ควบคุมดูแล
10. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร พื้นที่ปฏิบัติงาน ภายหลังเลิกปฏิบัติงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น